ไม่ว่าเราเริ่มเรียนภาษาอะไรก็ตาม การแสดงผลข้อมูล (หรือที่คุ้นเคยกันว่า print) มักเป็นบทเรียนแรกๆที่เราจะได้เรียนเสมอ เพราะมันเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งในการเขียนโปรแกรม Java เองก็เหมือนกัน บทนี้ Matter Devs จะพาทุกคนไปเรียนรู้พื้นฐานJava ตั้งแต่การแสดงผลสุดคลาสสิคอย่าง “Hello World” กัน
เริ่มต้นด้วยการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมา การตั้งชื่อไฟล์จะนิยมใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำหน้า และถ้ามีหลายคำให้ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่แบ่ง เช่น ตั้งชื่อไฟล์ว่า HelloWorld.java เสร็จแล้วให้พิมพ์โค้ดด้านล่างนี้
public class HelloWorld { public static void main(String[] args) { } }
บรรทัดที่ 1 : การสร้างคลาสจะต้องประกาศชื่อคลาสให้ตรงกับชื่อไฟล์เสมอ อย่างโค้ดนี้เราตั้งชื่อไฟล์ว่า HelloWorld ดังนั้นจะต้องประกาศคลาสเป็น HelloWorld ด้วยนั่นเอง
บรรทัดที่ 2 : คือฟังก์ชัน main เป็นส่วนหลักของโปรแกรม จะถูกประมวลผลเป็นที่แรก ภายในฟังก์ชันหลัก คือที่ที่เราจะใส่คำสั่งเพื่อให้ทำงานตามที่เราต้องการ โดยคำสั่งจะถูกทำงานตั้งแต่บรรทัดแรก บรรทัดที่สอง และบรรทัดที่สามตามลำดับ
ในการแสดงผล output ไปยังเทอร์มินัลของเรา จะใช้คำสั่ง “print” หรือ “println” (print line) ดังนั้นเราจะสามารถ output บนหน้าจอโดยใช้คำสั่งนี้ในฟังก์ชันหลัก
public class HelloWorld { public static void main(String[] args) { System.out.println("Hello World"); } }
หลังจากรันโปรแกรม จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
Hello World
แต่คำถามคือ แล้ว print กับ println ต่างกันอย่างไรล่ะ?
คำตอบคือ ถ้าคำสั่ง “print” เคอร์เซอร์จะถูกวางไว้หลัง output ส่วนคำสั่ง “println” เคอร์เซอร์จะถูกย้ายไปยังบรรทัดถัดไป ถ้านึกภาพไม่ออก ลองพิมพ์โค้ดด้านล่างนี้ดู
public class HelloWorld { public static void main(String[] args) { System.out.print("Hello World"); System.out.print("Hello World"); } }
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
Hello WorldHello World
แต่ถ้าเราใช้ “println”
public class HelloWorld { public static void main(String[] args) { System.out.println("Hello World"); System.out.println("Hello World"); } }
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
Hello World
Hello World
พูดง่ายๆคือ คำสั่ง “print” จะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน ส่วนคำสั่ง “println” จะขึ้นบรรทัดใหม่นั่นเอง
บทนี้เราได้เรียนเกี่ยวกับการแสดงผลข้อมูลพื้นฐานแล้ว ในบทถัดไปเราจะเรียนเรื่อง Data type ว่ามีข้อมูลประเภทใดบ้าง และจะตั้งชื่อตัวแปรในภาษาจาวาอย่างไร