Data Types คืออะไร?
Data Type หรือชนิดข้อมูล คือตัวกำหนดว่าตัวแปร (Variable) นั้นเก็บข้อมูลชนิดใดอยู่ ทำให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรเพื่อนำไปดำเนินการบางอย่างได้ ซึ่งชนิดข้อมูลในภาษา Java มี 2 ประเภท ดังนี้
1. Primitive Data Types ใช้เก็บค่าพื้นฐานต่างๆ เช่น int, float, double, long, boolean และ char
2. Non-primitive Data Types ใช้เก็บค่าอ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น String Array List Set Stack Vector เป็นต้น
ข้อสังเกต: ชนิดข้อมูล Primitive จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก และ Non-primitive ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำหน้า
ในการเขียนโปรแกรม ผู้เขียนจะต้องประกาศตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ โดยการประกาศตัวแปรในภาษา Java สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร;
ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร = ค่าเริ่มต้น;
ชนิดข้อมูล ชื่อตัวแปร = ค่าเริ่มต้น, ชื่อตัวแปร = ค่าเริ่มต้น;
เช่น
int a; float b = 3.14f; int num = 10, _money = 8;
การตั้งชื่อตัวแปร
– อักษรตัวแรกต้องเป็น a ถึง z เครื่องหมาย $ และ _
– ห้ามขึ้นต้นด้วยตัวเลขเด็ดขาด!
– ห้ามใช้คำสงวน (Keyword) ในภาษาจาวา เช่น for final import public const เป็นต้น
– ควรใช้คำที่มีประโยชน์ต่อบริบทของโค้ดเสมอ
ทีนี้เราก็รู้จักทั้งชนิดข้อมูลและรู้วิธีการตั้งชื่อตัวแปรแล้ว ในบทความนี้ Matter Devs จะพาทุกคนไปเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลแต่ละประเภทกัน
Integer
integer เป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่เป็นจำนวนเต็ม มีขนาด 4 ไบต์ หากต้องการเขียนในโค้ด ให้ใช้ “int” และระบุชื่อตัวแปร ยกตัวอย่างโค้ดด้านล่าง
public class IntergerExample{ public static void main(String[] args){ int variableName = 3; } }
Float
float เป็นชนิดข้อมูลที่เก็บเศษส่วนหรือเลขทศนิยม เช่น 3.1415 มีขนาด 4 ไบต์ โดยเราจะต้องมีตัว f ต่อท้ายเลขทศนิยมด้วย เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าเราใช้ชนิดข้อมูลแบบ float อยู่ อย่างเช่นตัวอย่างโค้ดด้านล่าง
public class FloatExample{ public static void main(String[] args){ float floatName = 1.44f; } }
Double
double ทำหน้าที่เหมือน float แต่มีขนาด 32 ไบต์
public class DoubleExample{ public static void main(String[] args){ double variableName = 3.1415; } }
Boolean
boolean เป็นชนิดข้อมูลแบบตรรกะ เก็บได้แค่ 2 ค่าคือ true หรือ false
public class BooleanExample{ public static void main(String[] args){ boolean variableName = true; //or false } }
Char
char เป็นชนิดข้อมูลที่สามารถเก็บตัวอักษรได้ทีละตัวเท่านั้น
public class CharExample{ public static void main(String[] args){ char character = 'A'; } }
How to แสดงผลข้อมูล?
อย่างที่เราได้เรียนในบทที่แล้วเรื่องการแสดงผล เราสามารถนำมาใช้ร่วมกันโดยใช้คำสั่งด้านล่างนี้…
public class IntergerExample{ public static void main(String[] args){ int number = 50; System.out.println(number); //ผลลัพธ์ของโปรแกรมคือ 50 } }
นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มสิ่งนี้ในคำสั่ง System.out.print เพื่อให้โค้ดสมบูรณ์มากขึ้น
public class IntergerExample{ public static void main(String[] args){ int number = 50; System.out.println("The number is " + number); //ผลลัพธ์ของโปรแกรมคือ The number is 50 } }
บทนี้เราได้รู้เกี่ยวกับชนิดข้อมูลและตัวแปรในภาษาจาวาแล้ว ในบทถัดไปเราจะเรียนเรื่องการรับค่าจากแป้นพิมพ์ (Scanner) ว่าในภาษาจาวาทำกันยังไง